วันศุกร์ที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2553

ครั้งที่ 16 วันที่ 6 ตุลาคม 2553


เป็นการเรียนการสอนครั้งสุดท้าย.....ของรายวิชา การจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
-ข้อสอบเกี่ยวกับทักษะทางวิทยาศาสตร์เเละยกตัวอย่างประกอบ
-ประเมินอาจารย์หรือสะท้อนอาจารย์

ครั้งที่ 15 วันที่ 29 กันยายน 2553




ส่งข้อสอบเทคนิคการสอนทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
เนื้อหาการเรียนการสอน : อาจารย์อธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับเทคนิคทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยให้นำไปปรับปรุงเเก้ไข เเล้วใส่เเหล่งอ้างอิง อาจารย์สอนเพิ่มเติมในกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

ครั้งที่ 14 วันที่ 22 กันยายน 2553

สรุปเกี่ยวกับเเผนผัง Mind Map เกี่ยวกับการจัดสภาพเเวดล้อมที่กระตุ้นการเรียนทางวิทยาศาสตร์ จะต้องจัดเนื้อที่บริเวณให้เอื้อต่อการเรียน กล่าวคือ จัดให้มีเนื้อที่บริเวณตรงกลางให้เพียงพอต่อการออกมาทำกิจกรรมต่างๆ ร่วมกัน จะช่วยให้เด็กเกิดความอยากรู้อยากเห็นเเละความสนใจที่จะปฏิบัติด้วย

ครั้งที่ 13 วันที่ 15 กันยายน 2553

นำเสนอกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ในรูปเเบบ Mind Map

ได้เเก่
กลุ่มที่ 1 ผลไม้
กลุ่มที่ 2 สัตว์
กลุ่มที่ 3 ผัก

อาจารย์ร่วมอภิปรายเเละเเสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเเผนผัง ให้เชื่อมโยงให้ถูกต้อง







ครั้งที่ 12 วันที่ 8 กันยายน 2553

สรุปการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ที่โรงเรียน สาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม

-นำเสนอหน้าชั้นเรียน เป็รรูปแบบ Power Point
-เเบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 5 คน เลือกหน่อยการเรียนสำหรับเด็กปฐมวัย ให้เเยกส่วนลักษณะเเละองค์ประกอบที่สำคัญๆ ทำเป็นรูปแบบ Mind Map

ครั้งที่ 11 วันที่ 1 กันยายน 2553







จัดกิจกรรมงานวิทยาศาสตร์หรรษา ของนักศึกษาปีที่3
ได้ลงไปจักกิจกรรมวิทยาศาสตร์ให้เเก่เด็กๆโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม

ครั้งที่ 10 วันที่ 25 สิงหาคม 2553


















นำเสนอสื่อวิทยาศาสตร์


นำเสนองานที่ละกลุ่ม

-มหัศจรรย์ของน้ำ

-ความลับของเเสง

-อากาศ

-เเสง


หมายเหตุ เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนลงจัดกิจกรรมที่โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษมในวันศุกร์ (เนื่องมีงานวันวิทยาศาสตร์)

ครั้งที่ 9 วันที่ 18 สิงหาคม 2553






จัดกิจกรรมเข้าค่าย ที่ฐานทัพเรือสัตหีบ อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี
-ร่วมกิจกรรมของฐานทัพเรือ
-เข้าร่วมดูงานวันวิทยาศาสตร์ที่โรงเรียนฐานทัพเรือสัตหีบ

ครั้งที่ 8 วันที่ 11 สิงหาคม 2553

สอบกลางภาค (ไม่มีการเรียนการสอน)

ครั้งที่ 7 วันที่ 4 สิงหาคม 2553






กิจกรรมไหว้ครูเเละบายศรีของคณะศึกษาศาสตร์ สาขาการศึกษาปฐมวัย ชั้นปีที่ 1-4

ครั้งที่ 6 วันที่ 28 กรกฎาคม 2553


ดูวิดีทัศน์ เรื่อง มหัศจรรย์ของน้ำ
1.การทดลองการปั้นนำผลไม้ ในการทดลองนี้จะฝึกเด็กสังเกตมีการใช้คำถามเชื่อมโยงให้เห็นการเก็บน้ำของอูฐเเละต้นกระบองเพชร
2.การทดลองน้ำเเข็ง (น้ำเปลี่ยนสถานะ)เกิดควบเเน่นเเละเชื่อมโยงไปถึงการเกิดของฝน
3.การทดลองน้ำใส่เเก้วเเล้วเเช่เย็น ความหนาเเน่น
4.การทดลองเเครอทใส่ในเเก้ว เกิดความหนาเเน่นระหว่างน้ำเกลือกับน้ำเปล่า เเต่เกลือจะมีความหนาเเน่นมากกว่า จะสังเกตได้ว่าเมื่อนำเเครอทลงในน้ำเปล่าเเครอทจะจมเเต่เมื่อเทน้ำเกือนลงไปจะสังเกตได้ว่าเเครอทจะลอยขึ้นมา นั้นก็เป็นเพราะว่าเกลือมีความหนาเเน่นมากกว่า เกลือจึงดันให้เเครอทลอยขึ้น
5.การตกของน้ำเเข็ง ในการทดลองน้ผ้าก๊อตวางลงบนน้ำเเข็งเเล้วใช้เกลือโรยจะปรากฎว่าน้ำเเข็งติดผ้าก๊อต

ครั้งที่ 5 วันที่ 21 กรกฎาคม 2553
















นำเสนอโครงการที่ปรับปรุงเเก้ไขเเล้ว

กลุ่มที่ 1 โครงการ การประดิษฐ์กระถางต้นไม้สุดประหยัดจากขวดพลาสติก
ข้อเเนะนำเพิ่มเติม
-มีการยกตัวอย่างรูปภาพเเละอธิบาย
-รูปภาพเล็ก น่าจะนำใส่ Power Point
-ไม่มีเเหล่งข้อมูลพื้นฐาน
-ควรมีการเกริ่นนำ
กลุ่มที่ 2 โครงการ เเม่ลูกระบายสีถงผ้าช่วยลดโลกร้อน
ข้อเเนะนำเพิ่มเติม
-เพื่อเกิดตระหนักในการใช้ถุงผ้า
-ควรปรับปรุงตัวหนังสือ Power Point
-เเหล่งข้อมูลพื้นฐาน
กลุ่มที่ 3 โครงการ ลดภาวะโลกร้อนของเด็กปฐมวัย
ข้อเเนะนำเพิ่มเติม
-ความเชื่อมโยงของเนื้อหา
-กิจกรรมซ้ำ
กลุ่มที่ 4 โครงการ ถังขยะอัจฉริยะ
ข้อเเนะนำเพิ่มเติม
-การนำเสนอเป็นธรรมชาติ
-เนื้อหาไม่สอดคล้อง
-ระบุระยะเวลาดำเนินการ
กลุ่มที่ 5 โครงการ การประดิษฐ์ตะกร้าจากกล่องนม
ข้อเเนะนำเพิ่มเติม
-รายละเอียดไม่ชัดเจน
-เพิ่มเติมเนื้อหาข้อมูล
อาจารย์มอบหมายงาน
-ภาวะโลกร้อนน สาเหตุ พร้อมเเหล่งที่มา วิธีลดภาวะโลกร้อน
-กิจกรรมลดภาวะโลกร้อนที่แปลกใหม่(กลุ่ม)
-นำเศษวัสดุมาประดิษฐ์สื่อวิทยาศาสตร์(กลุ่ม)


















































ครั้งที่ 4 วันที่ 14 กรกฎาคม 2553

เเต่ละกลุ่มออกมานำเสนอโครงการ

กลุ่มที่ 1 ซูนีตา โครงการ การประดิษฐ์กระถางต้นไม้สุดประหยัดจากขวดพลาสติก
กลุ่มที่ 2 น้ำฝน โครงการ เเม่ลูกระบายสีถุงผ้าช่วยลดโลกร้อน
กลุ่มที่ 3 เพ็ญศรี โครงการ ลดภาวะโลกร้อนของเด็กปฐมวัย
กลุ่มที่ 4 ศุภาพร โครงการถังขยะอัจฉริยะ
กลุ่มที่ 5 สุพัตรา โครงการ การประดิษฐ์ตะกร้าจากกล่องนม

การบ้าน
1.นำโครงการไปปรับปรุง
2.ให้นักศึกษาคิดเเละประดิษฐ์ชิ้นงาน "ศิลปะสอนวิทยาศาสตร์"มาเสนอคนละ 1 ชิ้นส่งในสัปดาห์ถัดไป
3.นัดหมายการเรียนในครั้งต่อไปเวลา 9.00 น.

ครั้งที่ 3 วันที่ 7 กรกฎาคม 2553

นำเสนอกิจกรรมลดโลกร้อน เเบ่งกลุ่มเป็น 5 กลุ่ม

กลุ่มที่ 1 กระถางต้นไม้จากขวดพลาสติก
กลุ่มที่ 2 ศิลปะบนถุงผ้า
กลุ่มที่ 3 ตะกร้าจากกล่องนม
กลุ่มที่ 4 ถังขะอัจฉริยะ
กลุ่มที่ 5 เรียงภาพ
จากนั้นอาจารย์สรุปเเละเเสดงความคิดเห็นของเเต่ละกลุ่มพร้อมทั้งเสนอเเละให้นำไปปรับปรุงเเก้ไขเพื่อนำเสนอในครั้งต่อไป

การบ้าน
เมื่อทุกกลุ่มได้หัวข้อเรื่องในการจัดกิจกรรมให้กับเด็กจากนั้นให้นำหัวเรื่องกลับไปคิดเเละวางเเผนเป็นรูปโครงการที่จะจัดกิจกรรมให้เเก่เด็กได้เกิดความตระหนักในการสอนการเรียนวิทยาศาสตร์ผ่านโครงการ เเล้วนำมาเสนอหน้าชั้นเรียนในสัปดาห์ถัดไป

วันเสาร์ที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ครั้งที่ 1 กับครั้งที่2 วันที่เรียน 30 มิถุนายน 2553

เด็กปฐมวัย vs การเรียนรู้วิทยาศาสตร์
-วิทยาศาสตร์เป็นยาขมสำหรับเด็กๆจริงหรือ ?
-ถ้าเด็กๆเรียนวิทยาศาสตร์ตั้งเเต่ชั้นอนุบาลจะยากเกินไปไหม ?
-ควรจะให้เด็กๆอนุบาลเรียนรู้วิทยาศาสตร์อย่างไร ?

วิทยาศาสตร์
-คือ ความพยายามของมนุษย์ที่จะเรียนรู้เเละทำความเข้าใจกับสิ่งเเวดล้อมดดละตัวตนของตนเอง
-ความพยายาม เช่นนี้ติดต่อของมนุษย์มาตั้งเเต่เเรกเกิด ซึ่งสะท้อนให้เห็นจากธรรมชาติของเด็กที่มีความอยากรู้อยากเห็นช่วง สังเกต เเละคอยซักถามเกี่ยวกับสิ่งต่างๆที่พวกเขาเจอ เเละบางครั้งก็ไปคำถามที่อยากเกินที่ผู้ใหญ่จะให้ถาม
-การทำความเข้าใจกับสิ่งรอบตัวเเละตัวตนของตนเอง โดยการสังเกตเเละตอยซักถามเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ ที่พวกเขาเจอ ช่วยเชื่อมโยงเซลล์ของสมองงของเด็ก โดยเฉพาะเด็กเล็กๆ เพราะส่งเสริมให้เด็กได้คิดเป็นการเตรียมเด็กให้สามารถเรียนรู้ได้มากขึ้น

ถ้าผู้ใหญ่ไม่เข้าใจในธรรมชาติของเด็ก
-ปิดกั้นโอกาสทางการเรียนรู้ของพวกเขาโดยการไม่ให้ความสนใจกับคำถาม
-ไม่ให้ความสนใจกับการค้นพบเเบบเด็กๆ
-ไม่จัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่จะส่งเสริมเเละต่อยอดทักษะเเละเเนวคิดที่ถูกต้องให้กับเด็กอย่างเหมาะสม

ทบทวนบทบาท
-เปิดโอกาสทางการเรียนรู้ของพวกเขาโดยการให้ความสนใจกับคำถาม
-ให้ความสนใจกับการค้นพบเเบบเด็กๆ
-จัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่จะส่งเสริมเเละต่อยอดทักษะเเละเเนวคิดที่ถูกต้องให้เด็กอย่างเหมาะสม
-ครูเเละผู้ปกครองต้องยอมรับในเรื่องจินตนาการที่มีอยู่สูงในเด็กวัยนี้
-ครู้ต้องเเม่นยำในพัฒนาการของเด็ก เพื่อที่จะสามารถจักการเรียนรู้ได้สอดคล้องกับความสามารถของเด็ก


สรุปเดี่ยว
เด็กปฐมวัยกับวิทยาศาสตร์ : การเรียนรู้ของเด็กเเต่ละวัยที่จะพัฒนาการหลายรูปแบบไม่ว่าจะเป็น การสังเกต การทดลอง เป็นต้น วิทยาศาสตร์สำหรับเด็ก คือ สิ่งเเวดล้อมที่อยู่ใกล้ตัวเด็ก ความอยากรู้อยากเห็น ผู้ใหญ่ไม่ควรปิดโอกาสการเรียนรู้ของเด็ก ควรส่งเสริมต่อยอดทักษะเเละเเนวคิดที่ถูกต้องให้กับเด็กอย่างถูกต้องเเละเหมาะสมกับเด็ก ให้ความสนใจเเละค้นพบคำถามที่เด็กถามเเละอธิบายให้ถูกต้อง จัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้กับเด็กโดยให้เหมาะสมกับพัฒนาการของเด็ก ครูเเละผู้ปกครองควรยอมรับในเรื่องของจินตนาการที่มีอยู่สูงของเด็กวัยนี้

สรุปกลุ่ม
1.ช่วงอายุ 0-2 ปี เป็นช่วงที่เด็กใช้ประสาทสัมผัส
2-4 ปี เป็นช่วงที่เด็กใช้คำได้มากขึ้น
4-6 ปี เป็นช่วงที่เด็กใช้คำที่มีประโยคเเละเริ่มมีคำถาม
2.ความหมายของวิทยาศาสตร์ คือ ความพยายามของมนุษย์ที่จะเรียนรู้สิ่งเเวดล้อมรอบตัวของตนเอง
3.ผู้ใหญ่มีบทบาทที่สำคัญต่อการส่งเสสริมพัฒนาการของเด็ก
4.สมองจะทำหน้าที่เหมือนผ้าขาวหรือกระดาษ มีการซึมซับเพื่อให้เกิดความรู้ใหม่ เเละการดำรงชีวิตเพื่อการอยู่รอด
5.มีวิธีเเละเเนวทางการสอนให้เด็กได้มีการส่งเสริมทักษะเเนวทางที่ถูกต้องเหมาะสม


หมายเหตุ ครั้งที่1 วันที่ 23 มิถุนายน 2553 รับน้องไม่มีการเรียนการสอน